วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปลาหางนกยูง

ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์ปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง Poecilia reticulate (Peters, 1959) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ  ลำตัวและครีบมีลวดลายและสีสันหลากหลายรูปแบบสดสวยสะดุดตา ครีบหางมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะในปลาเพศผู้  ซึ่งนอกจากจะมีครีบหางที่ยาวเป็นพวง พลิ้วแผ่กว้างสวยงามขณะว่ายน้ำแล้ว ยังมีลักษณะรูปร่างของครีบหางแตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงได้พยายามใช้หลักวิชาการทางด้านพันธุกรรมดำเนินการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นตามความต้องการมาเพาะพันธุ์จนได้ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ที่แปลกใหม่และสวยงามอีกมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะเน้นความสำคัญที่ รูปแบบของครีบหาง ลักษณะลวดลายและสีของลำตัว และ/หรือลวดลายและสีของครีบ เช่น
Blue cobra guppy                    หมายถึง ปลาที่มีสีฟ้าและมีลวดลายบนลำตัวคล้ายหนังงู
Yellow tuxedo guppy             หมายถึง ปลาที่มีสีเหลืองและมีลำตัวส่วนท้ายสีดำ
Full yellow guppy                   หมายถึง ปลาที่มีสีเหลืองทองทั้งตัว
Multicolor platinum guppy   หมายถึง ปลาที่มีหลายสีและมีลำตัวเป็นสีเงินสะท้อนแสง
Snakeskin red tail                    หมายถึง ปลาที่ลำตัวมีลายจุดคล้ายหนังงูและครีบหางมีสีแดง


ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์ปลาหางนกยูงเพศผู้

                ปลาหางนกยูงเพศผู้มีลักษณะ สีสันและลวดลายสวยงามกว่าปลาเพศเมียมาก กล่าวคือจะมีครีบยาวและแผ่กว้างกว่า สีจะเข้มกว่า ลวดลายจะชัดเจนและเข้มสะดุดตากว่า ปลาเพศผู้จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงและได้รับการพัฒนาปรับปรุง เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ตลอดเวลา สายพันธุ์ต่างๆ ของปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ ได้แก่
1. สายพันธุ์โมเสคหรือชิลี (Mosaic/Chili)
- ลำตัวจะมีสีใดก็ได้ แต่ต้องไม่มีลวดลาย อาจมีความเงาแวววาว (แพลททีนั่ม) ได้
- ครีบหางมีลวดลายแบบโมเสค โดยลวดลายจะมีลักษณะเป็นแต้มใหญ่ ครีบหางอาจจะมีสีแดง เหลือง น้ำเงิน หรือสีใดก็ได้
- ครีบหลังควรมีลวดลายและสีที่สอดคล้องกับครีบหาง

               
ริบบอนโมเสค (Ribbon mosaic)


<!--[endif]-->                    <!--[if !vml]-->
                                แพลททีนั่มโมเสค (Platinum mosaic)                              แอลบิโนโมเสค (Albino mosaic)

2. สายพันธุ์ทักซิโด้ (Tuxedo/Half black)
                - ลำตัวจากบริเวณกึ่งกลางลำตัวไปสุดโคนหางมีสีดำหรือน้ำเงินเข้ม ลำตัวอาจจะมีความแวววาว (แพลททีนั่ม) ได้ แต่ส่วนของแพลททีนั่มไม่ควรปนเปื้อนอยู่ในช่วงสีดำ
                - ครีบหางอาจเป็นสีพื้นหรือมีลวดลาย
                - ครีบหลังควรมีสีและลวดลายที่สอดคล้องกับครีบหาง

เยอรมันเยลโลทักซิโด้  (German yellow tuxedo)

นีออนทักซิโด้  (Neon tuxedo)

ฮาฟแบล็คเยลโลเดลต้า  (Half black yellow delta)

แอลบิโนนีออนทักซิโด้  (Albino neon tuxedo)

โมเสคทักซิโด้  (Mosaic tuxedo)

แอลบิโนทักซิโด้เรดเทล  (Albino tuxedo red tail)


ฮาฟแบล็คเดลต้า  (Half black delta)


3. สายพันธุ์กราซ  (Glass/Grass)
                - ลำตัวมีสีก็ได้ แต่ไม่ควรมีลายหรือแถบสี สีที่พบมาก ได้แก่ สีขาวงาช้าง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง
                - พื้นครีบหางมีสีอ่อน ค่อนข้างโปร่งแสง มีจุดหรือแต้มขนาดเล็ก กระจายทั่วหางและมีขนาดของจุดหรือแต้มสม่ำเสมอกัน ในสายพันธุ์บลูกราสไม่ควรมีสีเหลืองแทรกที่ครีบหาง และครีบหางไม่หางไม่ควรมีขอบสีดำหรือสีอื่นๆ
                - ครีบหลังควรมีสีและลวดลายที่สอดคล้องกับครีบหาง

บลูกราซ (Blue grass)
เมดดูซ่ากราซ (Medusa grass)

แอลบิโนเรดกราซ (Albino red grass)

4. สายพันธุ์คอบบร้าหรือสเน็คสกิน (Cobra or Snake skin)
                - ลำตัวมีลายจุดคล้ายหนังงู ไม่ควรเป็นลายแถบแบบม้าลาย
                - ครีบหางมีลาย ส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน เหลือง แดง หรืออาจจะเป็นสีเดี่ยวก็ได้
                - ครีบหลังควรมีสีและลวดลายสอดคล้องกับครีบหาง ครีบหลังอาจจะมีขนาดเล็กกว่าครีบหลังของสายพันธุ์อื่นๆ
หมายเหตุ สายพันธุ์กาแลคซี่และเมทเทิลจัดอยู่ในกลุ่มคอบบร้าได้ แต่สายพันธุ์เมดดูซ่า จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มคอบคร้า

คิงคอบบร้า (King cobra)

เลซคอบบร้า (Lace cobra)

โมเสคคอบบร้า (Mosaic cobra)
สเน็คสกิน (Snake skin)

แวริเกทิดสเน็คสกิน (Variegated snake skin)

<!--[endif]-->                <!--[if !vml]-->
     เมทเทิลคอบบร้า (Metal cobra)                        บลูโมเสคคอบบร้า (Blue mosaic cobra)
แอลบิโนเรดคอบบร้า (Albino red cobra)
5. สายพันธุ์โซลิค (Solic)
                - ลำตัวมีสีเดี่ยวสีใดก็ได้ ยกเว้นสายพันธุ์โซลิคที่มีลักษณะทักซิโด้
                - ครีบหางและครีบหลังไม่ควรมีจุดหรือลวดลาย
                - ครีบหลังควรมีสีสอดคล้องกับครีบหาง
หมายเหตุ สายพันธุ์ที่จัดอยู่ในพวกโซลิด ได้แก่ มอสโคบลู (Moscow blue) อเมริกันเรดเทล (American blue tail) อเมริกันพิงค์ไวค์ (America pink) อเมริกันพาสเทล  (American pastel) ฟามิงโก้ (Flamingo) โกลล์เด็นโซลิด (Golden solid) มิคาริฟ (Micariff) เรนโบว์ (Rainbow) และซันเซ็ท (Sunset)

กรีนเดลต้า (Green delta)
เรดเดลต้า (Red delta)

ซันทามารีน (Santa marine)
6. สายพันธุ์ริบบอน (Ribbon)
                - ครีบทุกครีบยาวและควรมีขนาดยาวใกล้เคียงกัน
                - ครีบหางควรยาวกว่าลำตัว
                - ลักษณะอื่นๆ ต้องมีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์นั้นๆ
หมายเหตุ ในการส่งปลาเข้าประกวดควรมีตัวผู้และตัวเมียริบบอนอย่างล่ะ 1 ตัว (การให้คะแนนตัวผู้ 90 คะแนน และตัวเมีย 10 คะแนน)

ริบบอนทักซิโด้ (Ribbon tuxedo)

เลซคอบบร้าริบบอน (Lace cobra ribbon)

ริบบอนกราซ (Ribbon grass)
แพลททีนั่มเม็ดดูซ่าริบบอน (Platinum medusa ribbon)

แพลททีนั่มเยลโล่ริบบอน (Platinum yellow ribbon)
7. สายพันธุ์สวอลโล (Swallow)
                - ครีบทุกครีบต้องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน  และครีบทุกครีบมีการแตกแขนงได้สัดส่วน
                - ลักษณะอื่นๆ ต้องมีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์นั้นๆ

แอลบิโนสวอลโล (Albino swallow)
คอบบร้าสวอลโล (Cobra swallow)


แอลบิโนเยลโลสวอลโล (Albino yellow swallow)

8. สายพันธุ์แอลบิโน่ (Albino)
                - ตามีสีแดง หรือชมพู หรือม่วง
                - สีลำตัว ครีบหลังและครีบหางต้องมีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์นั้นๆ

แอลบิโนเรด (Albino red)
<!--[endif]-->                          <!--[if !vml]-->
แอลบิโนโกลด์เดลต้า (Albino gold delta)               แอลบิโนเรดคอบบร้า (Albino red cobra)


แอลบิโนสวอดเทล (Albino swordtail)


แอลบิโน โมเสค (Albino mosaic)

9. สายพันธุ์อิสระ (Open)
                - เป็นปลาที่ไม่จัดอยู่ใน 8 สายพันธุ์ข้างต้น หรือไม่จัดเข้าในรายการประกวดแต่ละครั้ง เช่น สายพันธุ์พิงค์กุ (Pinku) สายพันธุ์เมดดูซ่า (Medusa) สายพันธุ์หางดาบ (Swordtail)  สายพันธุ์เอ็นเลอร์กัพพี (Endler’s guppy) หรือปลาหางนกยูง wild strains อื่นๆ

เมดดูซ่า (Medusa)


หางดาบ (Double swordtail)


                                                    
                               หางดาบล่าง (Bottom swordtail)



เมทเทิลพิงค์กุ (Metal pinku)

เมดดูซา (Medusa)

<!--[endif]-->           <!--[if !vml]-->
เยลโลพิงค์กุ (Yellow pinku)                     เอ็นเลอร์กัพพี (Endler’s guppy)

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์   
ปลาหางนกยูงมีวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุเพียง 3 เดือน ดังนั้นเมื่อลูกปลาโตพอที่จะแยกเพศได้ (อายุ 1-1.5 เดือน )  ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง การเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลี้ยงบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงในตอนช่วงเช้าหรือเย็น  ถ้าเลี้ยงกลางแจ้งควรใช้ตาข่ายบังแสงส่องผ่าน 25-40%    ภาชนะที่ใช้เลี้ยงใช้ได้ทั้งอ่างซีเมนต์หรือตู้กระจก  ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน  มีความเป็นกรดเป็นด่าง  (pH) ที่เหมาะสมประมาณ  6.8   ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา    และมีอุณหภูมิน้ำ  25-29  องศาเซลเซียส
        อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก  เช่น  ลูกน้ำ  ไรแดง  ไรสีน้ำตาล หรือหนอนแดง    หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า  40 %  อาหารสดก่อนให้ทุกครั้ง  ควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารโดยการแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 0.5-1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 10-20 วินาที ปริมาณอาหารสดควรให้วันละ  10% ของน้ำหนักตัวหรือให้กินแต่พออิ่ม   ส่วนอาหารแห้งให้วันละ 2-4 %   ของน้ำหนักตัวปลา  โดยให้วันละ 2 ครั้ง  ในตอนเช้าและเย็น   การถ่ายเทน้ำควรทำทุกวัน   โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ 1 ใน 4   ของปริมาณน้ำในตู้  แล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเดิม
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
          การคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียเพื่อทำการผสม ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ โคนหางใหญ่ แข็งแรงครีบสมบูรณ์ ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม เพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมียตรงที่อวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมีย ควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมากในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลาจากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกปลารุ่นต่อๆ ไป มีความอ่อนแอและมีอัตราการรอดต่ำ


การผสมพันธุ์
คัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียตามลักษณะที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเพาะพันธุ์  ซึ่งจะเป็นอ่างซีเมนต์หรือตู้กระจกก็ได้   ในอัตราส่วนปลาเพศผู้ 2 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 5 ตัว  โดยปล่อยในอัตราส่วนเพศผู้ 10 ตัว ต่อ ปลาเพศเมีย 25ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อปลาจะผสมพันธุ์กัน ปลาเพศผู้จะว่ายไปใกล้ปลาเพศเมีย  และจะปล่อยน้ำเชื้อผ่านทางอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ไปเก็บไว้ในท่อนำไข่ของปลาเพศเมีย (น้ำเชื้อของปลาเพศผู้สามารถเก็บไว้ในท่อนำไข่ได้นานถึง  8 เดือน) จากนั้น  ปลาเพศเมียจะใช้เวลาฟักในท้องนานประมาณ   22 - 30   วัน จึงจะฟักออกเป็นตัว  เมื่อลูกปลาออกจากท้องแม่หมดควรนำลูกปลาออก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ปลากินลูกปลาที่เกิดมาใหม่ จำนวนลูกปลาแต่ละครอกอาจมีมากถึง 200 ตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา  แต่โดยเฉลี่ยจะมีประมาณ 40-50 ตัว ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อการค้า อาจปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมพันธุ์ในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ แล้วคอยตักลูกปลาออกทุก ๆ วัน หรืออาจจะปล่อยพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์ในกระชัง หรือตระแกรงที่มีขนาดช่องตาที่ลูกปลาสามารถลอดออกมาได้โดยแขวนกระชังหรือตะแกรงดังกล่าวไว้ในบ่อซีเมนต์        เมื่อลูกปลาว่ายออกจากกระชัง  สามารถแยกออกไปปล่อยในบ่ออนุบาลได้

 การอนุบาลลูกปลา
                ลูกปลาที่เกิดใหม่ในระยะแรกให้ไรแดงหรือไรสีน้ำตาลที่ฟักออกใหม่ๆ เป็นอาหาร โดยให้ในปริมาณที่ลูกปลากินอิ่มพอดี   วันละ   2   ครั้ง  ในตอนเช้า   -  เย็น ประมาณ   2    สัปดาห์  จึงเปลี่ยนอาหารให้ลูกน้ำแทนหรืออาหารสำเร็จรูป  ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ ?  ของตู้ทุกวัน และเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 1 – 1 ?  เดือน ควรจะเลี้ยงแยกเพศ  เพื่อป้องกันไม่ให้ผสมพันธุ์กันเอง

ที่มา:สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ (March, 2010)



โรคที่พบในปลาหางนกยูงและวิธีรักษา

        1. โรคจุดขาว (White spot disease)      เกิดจากสัตว์เซลล์เดียว ชื่อ lchthyophthirus multifilis หรือชื่อย่อว่า lch (อิ๊ค)อิ๊คเข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวที่ผนังชั้นนอกของปลา สร้างความระคายเคืองปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มอิ๊ค ทำให้เห็นเป็นจุดสีขาว ยังไม่มีวิธีการกำจัดอิ๊คที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง แต่วิธีการที่ได้ผล คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน 25 - 30 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด และควรจะแช่น้ำซ้ำอีก 3 - 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน จะให้ผลดีมาก โดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ
28- 30 องศาเซลเซียส
           2. โรคที่เกิดจากปลิงใส   เกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus มักพบตามบริเวณเหงือกและผิวหนัง การรักษาใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือดิพเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอดไป
          3. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ (Lerneae sp.)  หนอนสมอมีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะกับตัวปลา การรักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์เข้มข้น 0.25-0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด แล้วแช่ซ้ำ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
           4. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย    เกิดจากพวกแบคทีเรียสกุลAeromonas และ seudomonas อาการที่พบ คือ ครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1 -2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 -3 วัน ออกซีเตตร้าไซคลินหรือเตตร้าซัยคลินผสมลงในน้ำในภาชนะที่เลี้ยงในอัตรา 10 - 20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือจะใช้เกลือแกง 0.5-1% ก็